ข้าวแช่เป็นกับข้าวของชาวมอญ คนไทยพอได้ลองชิมเข้าก็ถูกปากข้าวแช่มอญจึงถูกแปลงเป็นข้าวแช่ไทยตั้งแต่นั้นมา แต่เพราะข้าวแช่ทำยากยิ่งถ้าอยากให้อร่อย ยิ่งต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนข้าวแช่ไทยชั้นดี จึงมีอยู่แต่ในวังเท่านั้น คนธรรมดาในสมัยก่อนก็จะทำเองได้ยากนั่นเอง ข้าวแช่นั้น มีข้าวสุกขัดแช่น้ำเย็น ซึ่งมักเป็นน้ำดอกไม้ แล้วกินกับเครื่องกับข้าวต่าง ๆ
เช่น ลูกกะปิ พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้ง และเครื่องผัดหวานต่าง ๆ นิยมรับประทานในหน้าร้อน ปัจจุบันอาจใส่น้ำแข็งในข้าวแช่ด้วย เครื่องเคียงข้าวแช่ ได้แก่ ลูกกะปิ ประกอบด้วยปลาช่อนย่าง, ตะไคร้, กระชาย, หัวหอม, กะปิ, หัวกะทิ นำมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ขนาดพอดีคำ ชุบไข่และแป้งสาลีทอดในกะทะจนสีเหลืองทองหอมแดงยัดไส้ ส่วนผสมของไส้คล้าย ๆ กับส่วนผสมของลูกกะปิ นำหัวหอมแดงมาคว้านเนื้อออก แล้วยัดไส้เข้าไป จากนั้นชุบไข่และแป้งแล้วนำไปทอดพริกหยวกสอดไส้ หมูฝอย หรือ เนื้อฝอย ไชโป๊ผัดไข่ ผักสด นอกจากน้ำเย็น ๆ ในข้าวแช่หอม ๆ จะทำให้เราคลายร้อนได้แล้ว ส่วนประกอบอย่าง กระชาย ข่า ตะไคร้ หัวหอม และไชโป๊ ยังช่วยย่อยอาหาร บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ปรับสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ลดอาการปากลอก ปากแห้ง ปากแตก รวมไปถึงอาการร้อนในได้อีกด้วย และแน่นอนว่าน้ำหอม ๆ ของข้าวแช่ ยังช่วยให้เราผ่อนคลายจากความเครียดได้ดีอีกด้วยนั่นเอง